สัปดาห์
|
วัน
|
เป้าหมาย
|
กิจกรรม
|
สื่อ/อุปกรณ์
|
8
|
จันทร์
|
ขั้นเตรียม
ฝึกการมีสติ รู้ตัว
|
กิจกรรม : จัดสวน
ขั้นเตรียม (5 นาที)
- นักเรียนนั่งเป็นวงกลม
สวัสดีทักทายซึ่งกันและกันอย่างนอบน้อม
- ครูกระตุ้นการเรียนรู้ด้วยการกำกับสติ Brain Gym ท่าขนมจีบ ตัวแอล10
ครั้ง
|
- วัสดุธรรมชาติ
-กระดาษ
|
ขั้นกิจกรรม
-ฝึกการมีสติ ใคร่ครวญตัวเอง
-เคารพ นอบน้อม ต่อตนเองและสรรพสิ่ง
-เห็นความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับสิ่งต่างๆ
|
ขั้นกิจกรรม (15 นาที)
- ครูให้นักเรียนเลือกวัสดุธรรมชาติในระหว่างทางเดินกลับห้องที่เกี่ยวข้องมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับตนเอง
คนละ 1 อย่าง
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด
“วัสดุธรรมชาติที่นักเรียนเลือกมามีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับตนเองอย่างไร?”
- นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็นร่วมกัน
- ครูเชิญนักเรียนทีละ 1 คนนำวัสดุที่เลือกมามาจัดสวนตรงกลางวงกลมจนครบทุกคน
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด
“นักเรียนจะตั้งชื่อสวนของเราอย่างไรให้สร้างสรรค์ เพราะเหตุใดถึงตั้งชื่อนั้น?”
- ครูแจกอุปกรณ์ให้นักเรียนคนละ 1 ชุด(กระดาษA5,ปากกา)วาดภาพและตั้งชื่อสวน ในขณะที่รับส่งอุปกรณ์นักเรียนไหว้ขอบคุณเพื่อนด้วยความนอบน้อม
- เมื่อครบกำหนดเวลานักเรียนทุกคนนำเสนอผลงาน
- ครูให้นักเรียนที่นั่งอยู่ฝั่งซ้ายและฝั่งขวาช่วยเก็บอุปกรณ์
|
|||
ขั้นจบ
เคารพคุณค่าตัวเองและผู้อื่น
|
ขั้นจบ (5 นาที)
- ครูพูดเสริมแรงชื่นชม Empower ในความตั้งใจของทุกคน
- ครูและนักเรียนไหว้ขอบคุณซึ่งกันและกัน
|
|||
อังคาร
|
ขั้นเตรียม
ฝึกการมีสติ รู้ตัว
|
กิจกรรม : บัตรคำเชื่อมโยง
ขั้นเตรียม (5 นาที)
- นักเรียนนั่งเป็นวงกลม ทักทายสวัสดีซึ่งกันและกัน
- ครูกระตุ้นการเรียนรู้ด้วยการกำกับสติ Bran
Gym นับเลขโดยใช้นิ้วประกอบ
|
- บัตรคำ
|
|
ขั้นกิจกรรม
-มีสติ
จดจ่อกับสิ่งที่ทำอยู่
- เห็นความสัมพันธ์ และการเชื่อมโยงระหว่างตนเองกับสิ่งต่างๆรอบตัว - การเห็นคุณค่าในตัวเอง ผู้อื่น และสิ่งต่างๆรอบตัว - การยอมรับ และเคารพในความแตกต่าง |
ขั้นกิจกรรม (15 นาที)
- ครูนำบัตรคำความรู้สึกมาให้นักเรียนดู
ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “นักเรียนเห็นอะไร รู้สึกอย่างไร
บัตรคำเชื่อมโยงกับเราอย่างไร?”
- นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็นร่วมกัน
- ครูส่งอุปกรณ์ที่จัดเตรียมไว้ อุปกรณ์
(กระดาษครึ่ง A4 ที่เขียนคำศัพท์ เช่น ดีใจ
เสียใจ ร้องไห้ ขอโทษ ขอบคุณฯลฯ
ปากกา ให้หยิบคนละ 1 ชุด ขณะรับส่ง
นักเรียนไหว้ขอบคุณกันและกันอย่างนอบน้อม
- นักเรียนแต่ละคนลงมือทำชิ้นงานของตนเอง
- เมื่อครบกำหนดเวลานักเรียนทุกคนนำเสนอผลงาน
- ครูเชิญ Monitor ในวันนั้นช่วยเก็บอุปกรณ์
|
|||
ขั้นจบ
เคารพคุณค่าตัวเองและผู้อื่น
|
ขั้นจบ (5 นาที)
- ครูพูดเสริมแรงชื่นชม Empower ในความตั้งใจของทุกคน
-
ครูและนักเรียนขอบคุณซึ่งกันและกันอย่างนอบน้อม
|
|||
|
พุธ
|
ขั้นเตรียม
ฝึกการมีสติ รู้ตัว
|
กิจกรรม : ดนตรีดลใจ
ขั้นเตรียม (5 นาที)
- นักเรียนนั่งเป็นวงกลม สวัสดีทักทายซึ่งกันและกันอย่างนอบน้อม
- ครูกระตุ้นการเรียนรู้ด้วยการกำกับสติ Brain Gym ท่ากอหญ้า ก้อนหิน 10 ครั้ง
|
- วัสดุธรรมชาติ
- กระดาษ
- ปากกา
|
กิจกรรม
-ฝึกการมีสติ ใคร่ครวญตัวเอง
-เคารพ นอบน้อม ต่อตนเองและสรรพสิ่ง
-เห็นความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับสิ่งต่างๆ
|
ขั้นกิจกรรม (15 นาที)
ขั้นกิจกรรม: ครูมีบทเพลงมาให้นักเรียนฟัง ชื่อเพลงกำลังใจ หลังจากที่ฟังเสร็จครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนรู้สึกอย่างไร
ได้เรียนรู้อะไร และนำมาปรับใช้กับตัวเองอย่างไร
- ครูให้นักเรียนเลือกคำที่อยู่ในบทเพลง เป็นคำที่มีความหมายต่อตนเองมาคนล่ะ 1 คำ
- ครูส่งอุปกรณ์ที่จัดเตรียมไว้ให้นักเรียนคนละ 1
ชุด (กระดาษครึ่ง A4 ปากกา ) ขณะรับส่ง
นักเรียนไหว้ขอบคุณกันและกันอย่างนอบน้อม
- นักเรียนแต่ละคนเลือกคำที่มีความหมายต่อตนเองมาคนล่ะ 1 คำ พร้อมกับเขียน/วาดภาพ เรื่องราวจากคำที่นักเรียนเลือก
- เมื่อครบกำหนดเวลานักเรียนทุกคนนำเสนอผลงาน
- ครูเชิญ Monitor ในวันนั้นช่วยเก็บอุปกรณ์
|
|||
ขั้นจบ
เคารพคุณค่าตัวเองและผู้อื่น
|
ขั้นจบ (5 นาที)
- ครูพูดเสริมแรงชื่นชม Empower ในความตั้งใจของทุกคน
- ครูและนักเรียนไหว้ขอบคุณซึ่งกันและกัน
|
|||
พฤหัสบดี
|
ขั้นเตรียม
ฝึกการมีสติ รู้ตัว
|
กิจกรรม : การเคลื่อนไหวร่างกายผ่านกิจกรรม “โยคะ”
ขั้นเตรียม (5 นาที)
- ครูนำกิจกรรมด้วยการให้นักเรียนยืนหลับตา กลับมาอยู่กับตัวเองมีสติ รับรู้ลมหายใจเข้า-ออก ตามจังหวะ
- นักเรียนยืดหยุ่นร่างกาย ผ่อนคลายส่วนต่างๆ เพื่อให้กล้ามเนื้อได้คลายตัว ปลอดภัยอวัยวะในการฝึกโยคะ
|
|
|
ขั้นกิจกรรม
- ฝึกสติ
โดยการกำหนดและรับรู้ลมหายใจผ่านการเคลื่อนไหวร่างกาย
- เสริมสร้างบุคลิกภาพทีดี
- เกิดสมาธิและการจอจ่อ
|
ขั้นกิจกรรม (15 นาที)
- ครูนำกิจกรรมและพูดสร้างแรงให้เด็กเห็นคุณค่าของกิจกรรมโยคะ การฝึกปราณควบคุมจังหวะการเคลื่อนไหวควบคุมหายใจออก-เข้า ทุกขณะจิต
- ทุกคนยืนในท่าที่สบาย ยืนให้เต็มสองฝ่าเท้า สัมผัสให้ได้ถึงจุดที่รับน้ำหนักตัวของเรามากที่สุดที่ฝ่าเท้าทั้งสองข้าง หัวไหล่ทั้งสองข้างไม่ต้องเกรง หย่อนหัวไหลลงไป ผ่อนคลายที่หัวไหลทั้งสองข้าง หายใจเข้าลึกๆ ผ่อนลมหายใจออกช้าๆ ตามดูลมหายใจที่เป็นปกติสัก
3-4 ลมหายใจ
- ครูนำกิจกรรมการเคลื่อนไหวร่างกาย “โยคะ” ไร่เรียงจากจากทวงท่ายืน ไล่เรียงจนถึงท่านั่ง ผ่อนคลาย เคลื่อนไหว รับรู้ลมหายใจ
- ตามด้วยBody
scan สั้นๆ เพื่อผ่อนตระหนักรับรู้ทุกลมหายใจ
|
|||
ขั้นจบ
เคารพคุณค่าตัวเองและผู้อื่น
|
ขั้นจบ (5 นาที)
- กลับมาอยู่กับตัวเอง ครูพาผ่อนคลายอย่างมีสติ
- - ครูพูดเสริมแรงชื่นชม Empower ในความตั้งใจของทุกคน
|
|
||
ศุกร์
|
ขั้นเตรียม
ฝึกการมีสติ รู้ตัว
|
กิจกรรม : นิ้วแห่งความทรงจำ
ขั้นเตรียม (5 นาที)
- นักเรียนนั่งเป็นวงกลม
สวัสดีทักทายซึ่งกันและกันอย่างนอบน้อม
- ครูกระตุ้นการเรียนรู้ด้วยการกำกับสติ Brain Gym แตะสลับร่างกาย
|
- เรื่องเล่า ปรัชญาการบริหารงานนิ้ว
มือ ทั้งห้า
-กระดาษ
- ปากกา
|
|
ขั้นกิจกรรม
-ฝึกการมีสติ ใคร่ครวญตัวเอง
-เคารพ นอบน้อม ต่อตนเองและสรรพสิ่ง
-เห็นความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับสิ่งต่างๆ
|
ขั้นกิจกรรม (15 นาที)
ขั้นกิจกรรม:
- ครูเล่าเรื่องครั้งหนึ่งนิ้วมือคนทั้ง 5
นิ้วเกิดโต้เถียงกัน โดยแต่ละนิ้วต่างก็ถือว่านิ้วของตนมีความสำคัญกว่านิ้วอื่น
“นิ้วฉันสำคัญกว่าทุกนิ้ว
เพราะเป็นนิ้วแห่งความมีอำนาจสามารถชี้สั่งการให้ใครทำอะไรก็ได้และสามารถชี้แนะสั่งสอนให้คนอื่นทำตาม”
นิ้วชี้เริ่มต้นคุยอวดความยิ่งใหญ่ของตนเองก่อนนิ้วอื่น
ทำให้นิ้วอีก 4 นิ้ว ไม่พอใจที่ถูกคุยทับถมจึงตอบโต้ไป นิ้วกลางบอกว่า “นิ้วของฉันยาวและสูงกว่าพวกท่านทุกนิ้ว จึงต้องสำคัญกว่านิ้วอื่น
ไม่เช่นนั้น พวกท่านคงไม่มาห้อมล้อมคอยปกป้องดูแลนิ้วของเราหรอก” นิ้วนางอวดบ้างว่า “นิ้วของฉันเป็นนิ้วของผู้มีสง่าราศรีมีเกียรติกว่านิ้วอื่น
เวลาคนจะสวมแหวนเพชร แหวนทอง เขาก็จะสวมที่นิ้วฉัน”นิ้วก้อยก็บอกว่า
“นิ้วฉันแม้จะเล็กหรือเรียวกว่านิ้วอื่น ๆ
แต่เป็นนิ้วนำทาง ใครจะกราบพระหรือไหว้พระ หรือไหว้ผู้ใหญ่
นิ้วฉันก็จะถึงก่อนและอยู่ใกล้ชิดกว่านิ้วไหน ถือว่าเป็นนิ้วที่มีบุญ
หรือเวลาใครจะคืนดีกัน หรือหนุ่มสาวจะควงคู่กันให้หวานชื่นเขาจะเกี่ยวก้อยกัน”
นิ้วหัวแม่มือได้ฟังก็บอกว่า “ใครจะสำคัญอย่างไรก็แล้วแต่
หากไม่มีนิ้วหัวแม่มือเวลาจะหยิบจับของอะไรจะหยิบถนัดได้อย่างไร
เวลาใครลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง แม้แต่เข้าโรงรับจำนำ
หรือการแสดงหลักฐานแทนการลงลายมือชื่อ เขายังต้องใช้นิ้วฉันพิมพ์ลายนิ้วมือ”
มือได้ฟังนิ้วทั้ง 5 อวดความยิ่งใหญ่ของตน
ก็สุดแสนรำคาญ จึงห้ามปรามและอธิบายให้ฟัง “ลองนึกดูให้ดี ถ้าเกิดมีใครตัดนิ้วหนึ่งนิ้วใดขาดหายไป
นิ้วพวกท่านที่เหลือจะทำงานได้สะดวกหรือ แล้วมือของเราก็คงต้องพิกลพิการ
ดูไม่งามอย่างนี้หรอก ทุกนิ้วล้วนมีความสำคัญทั้งนั้น ถ้าไม่สามัคคีกัน
แล้วจะร่วมกันทำงานให้สำเร็จได้อย่างไร”
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด
“นักเรียนรู้สึกอย่างไรและจะนำไปปรับใช้กับตนเองอย่างไร?”
- ครูส่งอุปกรณ์ที่จัดเตรียมไว้ให้นักเรียนคนละ 1
ชุด (กระดาษครึ่ง A4 ปากกา ) ขณะรับส่ง
นักเรียนไหว้ขอบคุณกันและกันอย่างนอบน้อม
-นักเรียนวาดรูปมือฝ่ามือของตัวเองลงในกระดาษ
-นักเรียนเขียนความประทับใจหรือความทรงจำดีๆของบุคคลต่างๆที่นึกถึง(1 นิ้วต่อ 1 คน)
- เมื่อครบกำหนดเวลานักเรียนทุกคนนำเสนอผลงาน
- ครูเชิญ Monitor ในวันนั้นช่วยเก็บอุปกรณ์
|
|||
ขั้นจบ
เคารพคุณค่าตัวเองและผู้อื่น
|
ขั้นจบ (5 นาที)
- ครูพูดเสริมแรงชื่นชม Empower ในความตั้งใจของทุกคน
- ครูและนักเรียนไหว้ขอบคุณซึ่งกันและกัน
|
แผนการจัดการเรียนรู้วิชาจิตศึกษาพัฒนาปัญญาภายใน โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา © 2016 Lamplaimat Pattana School
Week8
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น